เมนบอร์ด (Mainboard, mother board)
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด"
ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ
-ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
-ชิปเซ็ต (Chip set)
-ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
-ระบบบัสและสล็อต
-Bios
-สัญญาณนาฬิกาของระบบ
-ถ่านหรือแบตเตอรี่
-ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
- ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
-จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
-ขั้วต่อ IDE
-ขั้วต่อ Floppy disk drive
-พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
-พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
-พอร์ต USB
แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด ECS P6VPA2
เมนบอร์ดที่ติดตั้งบนแผ่นรองก่อนประกอบเข้าตัวเครื่อง
เมนบอร์ดที่ติดตั้งในตัวเครื่องได้เลย
การพิจารณาคุณสมบัติของเมนบอร์ด
ประเด็นสำคัญในการเลือกเมนบอร์ดที่ดีในปัจจุบันคือสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี่
Form Factors หมายถึงลักษณะโครงสร้างของเมนบอร์ด ทั้งรูปร่างและขนาด ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบที่เรียกว่า AT หรือไม่ก็แบบ Baby AT (คือ AT ที่ลดความยาวลงมาในขณะที่ความกว้างเท่าเดิม) ส่วนมาตรฐานใหม่คือ ATX ซึ่งเป็น Baby AT ที่กลับทางจากเดิม คือมีการวางแนวสล็อตและหน่วยความจำใหม่ให้อยู่ใกล้ ๆ กันจะได้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา รวมทั้งการระบายความร้อนก็ดีขึ้นเนื่องจากกำหนดให้อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟทีมีพัดลมอยู่ (ตัวเครื่องหรือ Case ก็จะต้องเป็นแบบ ATX ด้วยจะใส่กันได้ลงตัว) รวมทั้งขั้วต่อแหล่งจ่ายไฟแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิมแนวโน้มในอนาคตจึงควรเลือกใช้เมนบอร์ดแบบ ATX โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับซีพียู
ความเร็วสูง ๆ
Bios ควรจะเป็น flash BIOS ซึ่งสามารถ upgrade ได้เสมอด้วยซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิป
มีซอฟต์แวร์ สำหรับดาวน์โหลดมา Upgrade ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ เพื่อแก้ข้อผิดพลาดหรือเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่มีรองรับในระบบปฏิบัติการ เช่น ใน Windows 95 ยังไม่มีไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ UDMA (Ultra DMA) และ USB (Universal Serial Bus) ซึ่งเมนบอร์ดที่ดีควรจะมีไดรเวอร์เหล่านี้มาให้หรือให้ดาวน์โหลดได้ด้วย มีคู่มือที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งทีสำคัญมากของเมนบอร์ด เพราะถ้าไม่มีก็แทบไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเลือกต่าง ๆ ได้เลย เมื่อต้องการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้ามาหรือ
เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบต่างๆ เช่นเพิ่ม RAM หรือเปลี่ยนซีพียู (เพราะจะไม่สามารถกำหนดการทำงานให้ตรงกับที่ต้องการได้ทั่งนี้รวมถึงการ Overclock ด้วย นอกจากนี้ถ้าคู่มือมีรายการข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยเสียงก็จะยิ่งดีเพราะเป็น
สิ่งที่ไม่ค่อยมีมาตรฐานและจำเป็นสำหรับเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้นจะได้วิเคราะห์ได้ตรงจุด มีข้อมูลสำหรับการ Upgrade เมนบอร์ด เพื่อให้สามารถใช้กับส่วนประกอบใหม่ ๆ ได้ เช่น เมื่อตอนเริ่มแรกอาจไม่รองรับ Pentium III เพราะยังไม่มีอยู่ แต่ในอนาคตควรจะมีวิธีปรับให้เหมาะสมได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ควรจะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซีพียูเลือกว่าจะใช้ซีพียูชนิดใด เนื่องจากซีพียูเป็นตัวกำหนดซ็อคเก็ตที่จะต้องใช้บนเมนบอร์ดจึงต้องเลือกก่อน ปัจจุบัน Pentium II, Pentium III, Celeron, AMD K6-2 และ AMD K7 Athlon เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณที่จ่ายได้ ข้องแนะนำในตอนนี้ก็คือ
Pentium II และ Pentium III จะต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ซ็อคเก็ต Slot 1 และชิปเซ็ต 440BX Celeron ควรใช้ i810 ที่มีทุกอย่างอยู่ในตัว เนื่องจากถ้าเลือกซีพียูรุ่นนี้ก็คือเน้นที่ประหยัดอยู่แล้ว และ i810 ก็คือรุ่นล่าสุดที่ออกมาสำหรับCeleron โดยเฉพาะ
Pentium III ควรจะใช้ i820 จะเหมาะสมที่สุด AMD K6-2 จะต้องใช้เมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ต Super 7 ซึ่งมีชิปเซ็ตมากมายให้เลือก ทั้งจาก SiS, ALI Aladdin และ VIA Apollo AMD Atholn ก็ต้องใช้เมนบอร์ดและชิปเว็ตสำหรับ Atholn โดยเฉพาะ
Pentium II Xeon ซึ่งใช้เป็นเซิอร์ฟเวอร์มีแคชระดับสองมากหน่อย (1 หรือ 2 MB) ส่วนจะมีช่องเสียบซีพียูทีสอง (แบบ SMP) หรือไม่ก็ต้องแล้วแต่ความต้องการ
RAM ควรเลือกเมนบอร์ที่สามารถใช้ 64 บิต 168 pin ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยความจำชนิดที่มีความเร็วสูงสุดและราคาถูกในขณะนี้ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ EDO RAM หรือ DRAM แบบ 72 pin ที่มีอยู่แล้วก็อาจจะเลือกที่มีสล็อตทั้งสองแบบ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกไม่มากนัก จึงควรตัดใจทิ้ง RAM เก่าไปเสียจะดีกว่า ถ้าเป็นไปได้ควรจะเลือก 100 MHz (10 ns) หรือเร็วกว่านี้เนื่องจากแนวโน้มบัส 66 MHz กำลังจะหมดไปในอีกไม่ช้านี้ และ EDO RAM ก็ไม่สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 66 MHz ด้วย
AGP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแสดงผลความเร็วสูง ควรจะเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบนี้ด้วยเสมอ ส่วนความเร็ว (2x, 4x) ก็แล้วแต่ความต้องการใช้งานและชิปเซ็ตที่ใช้ด้วย
PCI เป็นสล็อตที่จำเป็นอย่างยิ่ง มียิ่งมากได้ก็ยิ่งดี เว้นแต่ว่าจะต้องใช้การ์ดที่เป็น ISA ด้วยก็จะต้องเลือกให้มีสล็อต ISA มากพอกับจำนวนการ์ดที่ต้องการใช้
ACPI ปัจจุบันเมนบอร์ดทั้งหมดควรจะมีมาตรฐาน ACPI อยู่แล้วซึ่งนอกจากประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดีแล้วยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่ายอีกด้วย
ข้อมูลจาก http://kroo.ipst.ac.th/wkv/mainboard.html
วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)